OS for User

                 อธิบายเอาแค่พอรู้ แบบสั้นๆ รวบรัดในแต่ละระบบเลยละกันนะครับ เพราะคิดว่าหลายๆ คนน่าจะรู้จักกันดีอยู่แล้ว ก่อนอื่น OS ย่อมาจาก Operating System หน้าที่ของมันคือคอยจัดการกับพวกฮาร์ดแวร์ต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ซึ่งแน่นอนว่าการจัดการนั้นต้องทำตามที่เราสั่งงาน (แม้จะอยู่ในขอบเขตที่ OS รองรับก็ตาม) เมื่อเราต้องสั่งก็ต้องมีส่วนที่ใช้ในการควบคุมเหมือนกับรีโมททีวี หรือพวงมาลัยรถ ซึ่งแต่ละ OS ก็พยายามสร้างส่วนติดต่อผู้ใช้งาน (UI) ให้ง่ายต่อการใช้งาน และมีประสิทธิภาพ (UX) ทำให้หน้าตาของแต่ละ OS แตกต่างกันไป รวมถึงระบบในการจัดการส่วนที่ทำการควบคุมฮาร์แวร์ด้วย

              

ระบบ Window


                โดยส่วนมากน่าจะรู้จักกันดี เพราะใช้งานมายาวนานในประเทศไทย ถึงจะไม่เคยใช้ก็น่าจะเคยเห็นอยู่ดี  

 


ข้อดี : 1. คนใช้เยอะ รวมทั้งในประเทศ และทั่วโลก

              2. หาข้อมูลการใช้งานง่าย  

ข้อเสีย : 1. จอฟ้าบ่อย หรืออีกชื่อคือ Blue Screen Of Dead แม้ว่าหลังๆ จะเปลี่ยนไปใช้สีอื่นแทนสีฟ้าก็ตาม  

                  2. ค่าลิขสิทธิ์ของระบบ จะอยู่ที่ราคา 4000+ ณ ปัจจุบัน (ถ้ามีราคาที่ต่ำกว่านั้น มักจะเป็นของเถื่อน หรือการใช้คีย์ผิดเงื่อนไขการได้รับอนุญาตจากทางบริษัท Microsoft (ไมโครซอฟ) ซึ่งอาจจะถูกตีตราว่าเป็นของเถื่อนเมื่อไหร่ก็ได้ ถ้าไมโครซอฟตรวจพบ) หรืออีกกรณีนึงที่จะใช้ฟรีได้แบบถูกลิขสิทธิ์ก็คือ ซื้อโน๊ตบุ๊ค ที่แถมระบบ Window (วินโดว) มาให้เลย เนื่องจากหลายๆ ยี่ห้อมีการตกลงจ่ายเงินซื้อเพื่อใช้ในคอมแต่ละรุ่นของตัวเองอยู่แล้ว แต่โน๊ตบุ๊คที่มีวินโดวแถมมานี้ ส่วนมากก็จะมีราคาที่แพงกว่ารุ่นที่ไม่มีแถมมาประมาณ 1000 กว่าบาท (ถ้าจะถามว่าทำไมถูกกว่าราคาข้างบนละก็ มันเป็นเรื่องธุรกิจแบบเดียวกับการซื้อปลีก-ซื้อส่งครับ ถ้าทำสัญญาตกลงจะซื้อของทีเดียวจำนวนมาก แถมใช้เรื่อยๆ เราก็จะมีอำนาจในการต่อรองเพื่อขอลดราคามากขึ้น)  

                 3. การใช้ Ram (แรม) ค่อนข้างสูง ตัวระบบที่เพิ่งติดตั้ง ณ ปัจจุบัน จะเริ่มใช้แรมตั้งแต่ 1.3 - 1.5 GB และโดยเฉลี่ยหลังลงโปรแกรมทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 2 GB

                4. พื้นที่ของระบบควรแบ่งไว้ 100 GB ยิ่งลงโปรแกรมในไดรฟ C มากเท่าไหร่ก็ควรแบ่งให้ไดรฟ C เพิ่มขึ้นเท่านั้น (หรือไม่ก็เปลี่ยนไปลงในไดรฟอื่น ถ้ามี) อาจจะเพิ่มถึง 200 GB ได้ ควรทำ disk cleanup ทุกๆ หกเดือน เพื่อกำจัดขยะจากการอัพเดตระบบของวินโดวเอง และควรตั้งการจัดการที่เก็บข้อมูลอัจฉริยะเพื่อเพิ่มพื้นที่ว่างนะครับ

       

ระบบ iOS


                 อาจจะรู้จักกันในชื่อ Mac ซึ่งหลังจากนี้เพื่อความเข้าใจง่ายขึ้น ผมอาจจะเรียก Mac แทน ระบบนี้ใช้รองๆ กันมาในประเทศไทย แม้ว่าในไทยส่วนมากอาจจะเห็นในแบบมือถือมากกว่าก็ตาม


ข้อดี : 1. ระบบมีความเสถียรภาพสูง เนื่องด้วยบริษัท Apple (แอปเปิ้ล) จะทำการสร้าง และควบคุมฮาร์แวร์ภายในเครื่องด้วยเทคโนโลยีของตนเองเป็นส่วนมาก (แม้ว่าหลังผู้ก่อตั้ง สตีฟ จอบส์ ได้เสียชีวิตไป ก็เริ่มมีการใช้เทคโนโลยีจากเจ้าอื่น และระบบก็เริ่มมีปัญหามากขึ้นตามมา)

             2. หาข้อมูลการใช้งานง่ายรองมา เพราะคนใช้เยอะรองมาจากระบบวินโดว และส่วนนึงก็เป็นอาชีพที่ต้องการความเสถียรภาพของเครื่องสูง เช่น กลุ่มครีเอทีฟ กลุ่มโปรแกรมเมอร์ หรือกลุ่มที่มีความสำคัญของข้อมูลสูง งานที่ใช้มากก็เช่น งานภาพ งานตัดต่อวีดีโอ งาน 3D

ข้อเสีย : 1. เนื่องจากเทคโนโลยีส่วนมากจะเป็นของแอปเปิ้ลเอง ดังนั้นเครื่องที่จะใช้ระบบนี้ได้มีประสิทธิภาพ ก็จะเป็นเครื่องที่มาจากบริษัทแอปปเปิ้ล และไม่สมควรที่จะเอาไปลงระบบอื่นด้วย เนื่องจากไม่สามารถหาไดรเวอร์ได้ (ไดรเวอร์ คือโปรแกรมที่ทำหน้าประสานงานระหว่างตัวระบบกับ ฮาร์ดแวร์อีกที เนื่องจากอุปกรณ์มีจำนวนมาก ดังนั้น ไดรเวอร์ จึงมักจะถูกสร้างจากผู้ผลิตเอง เพื่อให้รองรับกับระบบต่างๆ ในปัจจุบัน แต่ส่วนมากระบบก็จะจัดการหามาให้ ถ้าคุณต่ออินเตอร์เน็ต)

                 2. ราคาของเครื่องที่ใช้ระบบ iOS ได้ ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบในส่วนของสเปคกับราคา แม้จะไม่คิดแยกขายระบบ แต่ก็ถือได้ว่ารวมไปกับค่าเครื่อง และอาจจะแพงกว่าระบบวินโดวเสียอีก

                 3. เนื่องจาการผูกขาดอยู่เจ้าเดียว ดังนั้นถ้าแอปเปิ้ลทำบางอย่าง เช่น ไม่อนุญาตให้มีการอัพเดตระบบ ในเครื่องรุ่นเก่า ก็จะไม่สามารถใช้โปรแกรมหลายๆตัวได้ นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้บน Mac ก็มักจะเป็นโปรแกรมที่ผลิตมาเฉพาะระบบ และเน้นการเสียเงินซื้อใช้เป็นส่วนมาก

ระบบ Linux


                 ระบบนี้เน้นฟรี เพื่อการแจกจ่ายนะครับ ระบบ iOS ก็มีรากฐานมาจากระบบนี้เหมือนกัน ซึ่งระบบนี้ อนุญาตให้ทุกคนบนโลกสามารถนำไปดัดแปลงเพื่อการแจกจ่าย และรวมถึงการใช้ขายทำเป็นธุรกิจได้

 


ข้อดี : 1. แน่นอนครับว่า เมื่อเป็นระบบรากฐานเดียวกัน จึงมีความเสถียรภาพสูงเช่นเดียวกัน

             2. เนื่องจากระบบนี้อนุญาตให้ทุกคนนำไปใช้ได้ จึงมีการสร้างไดรเวอร์มาให้รองรับกับอุปกรณ์จำนวนมาก ทำให้สามารถลงกับคอมทั่วไปได้หลากหลาย ซึ่งคอมที่ใช้วินโดว ส่วนมากก็จะลงได้อย่างไม่มีปัญหาใดๆ

             3. ระบบนี้เน้นฟรี ดังนั้นโปรแกรมที่ใช้งานในระบบนี้ก็เน้นฟรีด้วยเช่นกัน การจะหาโปรแกรมเสียเงินในระบบนี้ ยากกว่าการหาโปรแกรมฟรีเยอะ

             4. การใช้ทรัพยากร หรือสเปคของเครื่องที่ใช้ มีตั้งแต่น้อยมาก จนถึงระดับเดียวกับวินโดว เช่น Lubuntu ใช้ Ram (แรม) ประมาณ  300 - 500 MB, MX ใช้แรมประมาณ 500 - 600 MB, Mint ใช้แรมประมาณ 600 - 800 MB ส่วน Ubuntu ใช้แรมประมาณ 1.1 - 1.3 GB (1 GB = 1000 MB นะครับ) ดังนั้นการลงทุนซื้อเครื่องมาใช้ระบบนี้จึงไม่แพงมาก และแม้ว่ามีเครื่องที่มีสเปคสูงแล้ว ระบบนี้ก็ทำให้สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพกว่าระบบวินโดวอยู่ดี (เวลาเลือกโหลดตัวระบบ อันที่เขียนว่า Xfce จะใช้ทรัพยากรน้อยกว่าอันอื่น แต่ก็สวยงามน้อยกว่าเหมือนกัน)

             5. พื้นที่ที่ระบบใช้ส่วนมากต้องการแค่ 10 - 15 GB ก็เพียงพอ (ไม่รวมโปรแกรมต่างๆ)

ข้อเสีย : 1. เนื่องจากทุกคนสามารถนำไปใช้ทำอะไรก็ได้ ดัดแปลงอะไรก็ได้ จึงมาการแตกแขนงของตัวระบบออกมาจำนวนมาก และหน้าตา UI ก็แตกต่างกันไป บางเจ้าอาจทำมาให้คล้ายวินโดว หรือ Mac ก็มีเช่นกัน ซึ่งอาจจะทำให้บุคคลที่จะเริ่มใช้ใหม่สับสนได้ และไม่รู้ว่าจะเลือกใช้ตัวไหนดี ซึ่งที่มีคนใช้กันค่อนข้างเยอะได้แก่ UbuntuMint (อันหลังความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนคิดว่าใช้ง่ายกว่า)

                2. ต้องเรียนรู้โปรแกรมใหม่ๆ มาใช้แทนโปรแกรมเดิมพอสมควร ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติของการย้ายระบบ ไม่ว่าจะจากวินโดวไป Mac หรือในทางกลับกัน ก็ต้องเจอเช่นกัน แต่ที่นับเป็นข้อเสียเนื่องมีคนรู้จักน้อยกว่า คนส่วนจึงไม่คุ้นชินกับระบบนี้ และโปรแกรมในแต่ละระบบที่แตกแขนงกันออกมา ก็มีให้ลงแตกต่างกัน (แม้ว่าจะสามารถลงเองได้จากพิมพ์ผ่านเทอมินอลก็ตาม แต่คงไม่ได้เหมาะสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปเท่าไหร่)

                  3. ในหลายๆ ระบบที่แตกแขนงมา มีการใช้พื้นที่ของฮาร์ดิสก์ เพื่อการทำงานของระบบ แต่ไม่มีการสำรอง หรือจองไว้ก่อน ดังนั้นถ้าใช้พื้นที่จนเต็มจะทำให้เข้าระบบไม่ได้ ควรเหลือพื้นที่ไว้อย่างน้อย 3 GB (รุ่นหลังๆ เริ่มมีการจองพื้นที่ไว้ให้ ทำให้บางรุ่นอาจจะไม่เกิดปัญหานี้)

           พอมาถึงตรงนี้เริ่มจะไม่สั้นแล้วสิ แต่เอาจริงๆ ยังมีข้อมูลของ OS อีกมาก แค่ Linux ก็เยอะแยะแล้ว ซึ่งถ้าใครยังไม่มั่นใจที่จะลอง ก็ลองใช้ในแบบจำลองบน Oracle Virtual Box ไปก่อนละกัน แล้วค่อยทำแบบ 2 ระบบในเครื่องเดียว หรือจะใช้แทนเลยก็ตามใจชอบนะครับ นี้ยังไม่รวมพวกระบบเซิฟเวอร์ หรือที่สร้างมาเพื่อใช้งานเฉพาะด้านอีก ที่ไม่ใช่ทั้งใน 3 ระบบที่กล่าวมาอีกด้วย ที่นำมาเขียนทุกอย่างก็ค่อนข้างเน้นแค่จุดสำคัญสำหรับการเริ่มต้นในแต่ละระบบเท่านั้น ถ้าอ่านเฉพาะระบบที่สนใจก็คงไม่มากเท่าไหร่..... ละมั้ง 555



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โปรโมชั่นเน็ต TOT

โน๊ตบุ๊ค acer switch sa5-271 แบตบวม T^T

Blog นี้สร้างเพื่อ?