Basic Coding in Python
ในส่วนนี้น่าจะหาได้เกือบทุกเว็บที่เกี่ยวกับไพธอนเลย เพราะเป็นเรื่องพื้นฐานก่อนที่จะเริ่มโค้ดกันเลย ดังนั้นเราไม่ขออธิบายไรมาก เน้นสรุปพอละกันครับ
- ไม่ต้องประกาศชนิดของตัวแปรเหมือนภาษาอื่นๆ เพราะ IDE จะกำหนดให้ตามความเหมาะสมเลย แต่ถึงอย่างนั้นก็ต้องเข้าใจเรื่องชนิดตัวแปรนะ เพราะส่วนมากตอนจะนำมาใช้เราต้องใช้คำสั่งแปลงชนิดตัวแปร (x) อยู่ดี โดย IDE จะกำหนดค่าให้ดังนี้
- 0-9 เป็น int เช่น x = 9
- y.0-y.9 เป็น float เช่น x = 5.6
- 'y' หรือ "y" เป็น string เช่น x = "Hello"
- x = True หรือ x = False เป็น boolean
- ซึ่งเราสามารถเช็คได้ว่าตัวแปรไหนเก็บค่าเป็นอะไรโดยรันคำสั่ง " print (type(x)) " โดย x เป็นตัวแปรที่เราต้องการทราบชนิดตัวแปร
- การเก็บค่าต่างๆ ไว้ในตัวแปร (Collections) และการเรียกใช้งาน
- List
- Tuple
- Set
- Dictionary
- การใช้คำสั่งแปลงค่าชนิดตัวแปร (Data Types) เมื่อกำหนดให้ x เป็นตัวแปรที่ต้องการแปลงชนิด และ y เก็บค่าของตัวแปรชนิดที่เราต้องการไว้เพื่อเอาไปใช้
y = int(x)
โดย y จะเก็บค่าตัวแปรของ x ในรูปแบบ int ไว้y = float(x)
โดย y จะเก็บค่าตัวแปรของ x ในรูปแบบ float ไว้y = str(x)
โดย y จะเก็บค่าตัวแปรของ x ในรูปแบบ string ไว้y = bool(x)
โดย y จะเก็บค่าตัวแปรของ x ในรูปแบบ boolean ไว้- การแปลงเป็น int, float ถ้า x เก็บตัวอักขระ a-z ไว้จะเออเรอร์
- การแปลงเป็น boolean สามารถทำได้ทั้ง int, float แต่ตัวแปรต้องมีค่าเป็น 0, 1, 0.0, 1.0 ส่วน string จะได้ค่าเป็น True ถ้า x เก็บค่าอะไรไว้ และมีค่าเป็น Fasle ถ้า x ไม่ได้เก็บค่าอะไรไว้เลยแม้แต่เว้นวรรค (การกดปุ่ม space) ก็ตาม ( x = "" )
- Case-sensitive ตัวใหญ่-ตัวเล็กถือว่าคนละตัวแปรกัน
- # (Comment)ใช้สำหรับระบุว่า ตัวหนังสือที่อยู่ด้านหลัง # ในบรรทัดนั้น ไม่ต้องประมวลผลเป็นโค้ดโปรแกรม เพื่อเอาไว้เขียนคำอธิบายเพิ่มเติม ให้เรากลับมาอ่านแล้วเข้าใจได้ง่ายขึ้น ซึ่งตอนที่มีโค้ดเป็นหลักพัน หลักหมื่นบรรทัดขึ้นไป แล้วเริ่มจะต้องมีการแก้โค้ด จะเห็นผลของการทำตรงจุดนี้มาก
- การคำนวณพื้นฐาน (Operater)
-
+
บวก -
-
ลบ -
*
คูณ -
/
หาร -
**
เลขยกกำลัง -
%
หารแล้วเอาเฉพาะเศษที่เหลือจาการหารไม่ลงตัว โดยไม่สนว่าหารได้กี่ครั้ง เช่น
เมื่อใช้คำสั่ง print (x) จะได้ค่าเป็น 1
x = 7 % 2 - // หารไม่เอาเศษ เอาแค่จำนวนครั้งที่หารได้ เช่น
เมื่อใช้คำสั่ง print (x) จะได้ค่าเป็น 3
x = 7 // 2 - ลำดับความสำคัญของ operater จะเหมือนกับภาษาอื่น
- เงื่อนไข และการเปรียบเทียบ (Condition)
- > ใช้เปรียบเทียบว่าตัวแปรทางซ้ายมีค่ามากกว่าทางขวา ใช่ หรือ ไม่ ( < ก็กลับกัน) ถ้าคำตอบคือ ใช่ x จะได้ค่าเป็น True ถ้าไม่ใช่ x จะได้ค่าเป็น Fasle เช่น
เมื่อใช้คำสั่ง print (x) จะได้ค่าเป็น True
x = 7 > 2
เมื่อใช้คำสั่ง print (x) จะได้ค่าเป็น Fasle
x = 2 > 7 - >= ใช้เปรียบเทียบว่าตัวแปรทางซ้ายมีค่ามากกว่า หรือเท่ากันกับตัวแปรทางขวา ใช่ หรือ ไม่ ( <= ก็กลับกัน) ถ้าคำตอบคือ ใช่ x จะได้ค่าเป็น True ถ้าไม่ใช่ x จะได้ค่าเป็น Fasle เช่น
หรือ
x = (3 >= 2)x = (2 >= 2)
เมื่อใช้คำสั่ง print (x) จะได้ค่าเป็น True
แต่ถ้า
เมื่อใช้คำสั่ง print (x) จะได้ค่าเป็น Fasle
x = (1 >= 2) - == ใช้เปรียบเทียบว่าตัวแปรทางซ้าย และทางขวาเท่ากัน ใช่ หรือ ไม่ เช่น
เมื่อใช้คำสั่ง print (x) จะได้ค่าเป็น True
x = (2 == 2) - != ใช้เปรียบเทียบว่าตัวแปรทางซ้าย และตัวแปรทางขวาไม่เท่ากัน ใช่ หรือ ไม่ เช่น
เมื่อใช้คำสั่ง print (x) จะได้ค่าเป็น True
x = (3 != 2)
- > ใช้เปรียบเทียบว่าตัวแปรทางซ้ายมีค่ามากกว่าทางขวา ใช่ หรือ ไม่ ( < ก็กลับกัน) ถ้าคำตอบคือ ใช่ x จะได้ค่าเป็น True ถ้าไม่ใช่ x จะได้ค่าเป็น Fasle เช่น
- การวนรอบ (Loop)
- for ใช้เมื่อเรารู้จำนวนครั้งที่เราต้องการทำซ้ำที่ชัดเจน เช่น
for x in range (3):
print(x)
print("Done")
จะได้ค่าเป็น
0
1
2
Done
หรือfor x in range (2,5):
print(x)
print("Done")
จะได้ค่าเป็น
2
3
4
Done
ซึ่งการวนรอบจะเริ่มต้นที่ 0 หรือเริ่มตามที่เรากำหนด และวนจนหยุดก่อนถึงตัวเลขที่เรากำหนดหนึ่งค่า - while ใช้เมื่อเรารู้เงื่อนไขที่ต้องการ แต่ไม่รู้จำนวนครั้งที่ชัดเจน เช่น
x = 0
while x != 3: # เมื่อ x = 3 ให้หยุดทำงาน แทนเป้าหมายที่เรารู้
print (x)
x = x + 1 # สมมุติให้ x เพิ่มขึ้นทีละ 1 ถ้าไม่มีส่วนนี้ จนวนลูปไม่มีวันหยุดทำงาน
print ("Done")
จะได้ค่าเป็น
0
1
2
Done
ซึ่งการวนลูป เงื่อนไขคือต้องสร้างให้เข้าใกล้เงื่อนไขที่จะหยุดทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่งั้นโปรแกรมจะทำงานไม่จบไม่สิ้น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น